วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ


กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ

การหดตัวของกล้ามเนื้อแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
       1.
การหดตัวแบบแรงตึงกล้ามเนื้อคงที่ (Isotonic contraction) เป็นการหดตัวโดยที่แรงในการหดตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่กล้ามเนื้อหดสั้นลง การหดตัวแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนำหนักของสิ่งของที่ยกน้อยกว่าแรงที่กระทำจึงทำให้เกิดการทำงานได้ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อแขนเพื่อพยายามยกของน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม ขึ้นจากพื้น จะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นแขน แต่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง ผลออกมาจะได้งานเพราะวัตถุเคลื่อนที่ได้
       2.
การหดตัวแบบความยาวคงที่ (Isometric contraction) เป็นการหดตัวโดยที่ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง แต่แรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อเปลี่ยนไป เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหนักของสิ่งของที่ยกมีมากกว่าแรงในการยก เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อแขนที่จะยกของน้ำหนัก 20 กิโลกรัมขึ้นจากพื้น ซึ่งไม่สามารถจะยกขึ้นได้ ทำให้มีการออกแรงมาก และมีการหดตัวของกล้ามเนื้อมากการหดตัวแบบความยาวคงที่ จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงคือมีการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนักค้างไว้ (Weight lifting)
        
ในสภาพจริงขณะที่มนุษย์ทำงานหรือเคลื่อนไหว จะมีการหดรัดของกล้ามเนื้อทั้งสองแบบ (Mixed contraction) เช่น การยกของที่ไม่หนักขึ้นจากพื้น กล้ามเนื้อแขนจะต้องมีแรงตึงกล้ามเนื้อมากขึ้น โดยไม่มีการหดตัวช่วงนี้เป็นการหดตัวแบบความยาวกล้ามเนื้อคงที่ เมื่อกล้ามเนื้อมีแรงดึงเพิ่มขึ้นมีมากกว่าน้ำหนักของสิ่งของที่จะยก ก็จะมีการหดตัวแบบแรงตึงกล้ามเนื้อคงที่และตามมาวัตถุก็จะถูกยกขึ้นจากพื้น การหดตัวของกล้ามเนื้อจะแรงมากหรือน้อยเป็นสัดส่วนสัมพันธ์กับแรงตึงกล้ามเนื้อ คือ ถ้าแรงตึงกล้ามเนื้อมาก การหดตัวของกล้ามเนื้อจะหดตัวได้มาก ถ้ากล้ามเนื้อมีแรงตึงกล้ามเนื้อน้อย การหดตัวจะลดลง จากการทดลองตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อ พบว่าแรงตึงกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กับความยาวของกล้ามเนื้อ (Length tension relationship)





กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
1. เมื่อเกิดสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Muscle Action Potential) Sarcoplasmic Reticulum ซึ่งเป็นที่เก็บแคลเซี่ยม จะหลั่งแคลเซียมออกมา
2. แคลเซี่ยมทำหน้าที่ 2 อย่าง
- ไปจับกับ Tn – C ของ Actin ทำให้เกิดการเปิดตำแหน่ง Active Site
- ไปจับที่หัว Myosin (Myosin Head) ซึ่งไปกระตุ้นแอนไซม์สำคัญชื่อ Myosin ATPase ณ บริเวณนั้นให้สลาย ATP ออกเป็นพลังงาน
4. หัวของ Myosin ไปจับกับ Actin เกิดเป็น Actin – Myosin Crossbridge
5. พลังงานจาก ATP ทำให้เกิดการตึง Actin เข้าหา Myosin โดยอาศัยการงอพับได้ของ Mysin Head เกิดกระบวนการที่เรียกว่า Sllding Fllament Theory
สิ่งที่เกิดขึ้นขณะกล้ามเนื้อหดตัว

1. แรงที่เกิดขึ้นมาจากการหดสั้นโดยการดึง Actin จาก 2 ปลายของ Sarcomere เข้าหา Myosin
2. แรงหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นแรงดึง (Pull) ทั้งสิ้น ไม่ใช่แรงผลัก (Push)

3. ความยาวของ Thick (Myosin) และ Thin (Actin) Filament ไม่เปลี่ยนแปลง
4. ความยาวของ Sarcomere สิ้นลง

เครดิต:
 http://www.promma.ac.th/main/biology/web/p4.htm

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ:การออกกำลัง


การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ


"กล้ามเนื้อเป็นอีกอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่มีความสามารถพิเศษในการเพิ่มขนาดและปริมาณได้อย่างน่ามหัศจรรย์"
     "กล้ามเนื้อ" มีความสามารถในการปรับตัวไปตามระดับปริมาณที่เหมาะสมขึ้นกับการใช้งานได้โดยไม่จำกัดเพศหรือวัย การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักหรือใช้แรงต้าน (strengthening or resistant exercise) อย่างถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science) จะทำให้กล้ามเนื้อสามารถเพิ่มขนาด (muscle hypertrophy) เพิ่มความทนทาน (muscle endurance) เพิ่มความแข็งแรง (muscle strength) และเพิ่มพละกำลัง (power) ร่วมกับการมีสัดส่วนของอาหารที่มีปริมาณโปรตีนมาก เพียงพออย่างเหมาะสม จะช่วยส่งผลให้การฝึกกล้ามเนื้อมีคุณสมบัติดังกล่าว ได้ตามความต้องการ

หลักการฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

     การเสริมสร้างกล้ามเนื้อทำได้โดยอาศัยหลักการฝึกเพื่อการเสริมสร้างและการเพิ่มสมรรถภาพทางกาย (body conditioning and performance) ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังนี้ 
1.หลักการให้น้ำหนักหรือแรงที่มากกว่าปกติ (Overload)
2. หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
น้ำหนักหรือแรงที่มากกว่าปกติเป็นสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้น
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางสรีรวิทยาในกล้ามเนื้อ
เช่น กล้ามเนื้อจะมีขนาดเพิ่มขึ้น มีแรงยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากได้
กล่าวคือ แต่ละคนย่อมแตกต่างกันทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลของการฝึกในลักษณะเดียวกัน อาจได้ผลไม่เท่ากันหรือตอบสนองต่อการฝึกแตกต่างกันไป
3.หลักการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง (Progression)
แม้ว่าการให้น้ำหนักหรือแรงที่มากกว่าปกติจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวแล้ว แต่การให้น้ำหนักหรือแรงที่มากกว่าปกตินี้ ต้องทำอย่างเหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงเรื่องกรอบเวลาการฝึกด้วย

     หลักการฝึกอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมนี้ รวมถึงการให้เวลากล้ามเนื้อได้ฟื้นตัวหลังจากฝึกอย่างหนักและต่อเนื่อง เราควรคำนึงไว้เสมอว่า ร่างกายต้องการเวลาพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานหนักฉันใด กล้ามเนื้อก็ต้องการพักผ่อนและฟื้นตัวหลังจากเราให้มันฝึกงานหนักแล้วฉันนั้น การใช้งานกล้ามเนื้อหนัก ๆ โดยไม่ปล่อยให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างเลย จะเป็นเหตุให้เกิดแผลทั้งทางกาย (กล้ามเนื้อบาดเจ็บ) และแผลทางใจ (ความเครียด ความวิตกกังวล) พาลให้ไม่อยากฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้ออีกต่อไป

เทคนิคการฝึกกล้ามเนื้อ
ตารางช่วยคำนวณ 1RM
     ก่อนเริ่มการฝึกกล้ามเนื้อ ควรมีการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในแต่ละมัด ด้วยหาค่าน้ำหนักที่กล้ามเนื้อนั้นจะยกได้มากที่สุดในครั้งเดียว (repetition maximum) ด้วยการลองยกน้ำหนักที่คาดว่าจะยกได้ประมาณ 4-10 ครั้ง แล้วยกต่อไม่ไหวใช้จำนวนครั้งยกได้จริงหาค่า repetition factor ในตารางค่า repetition factor เพื่อนำไปคูณกับปริมาณน้ำหนักที่เลือกมา จะได้ค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ในครั้งเดียว (1RM) เช่น เลือกน้ำหนักที่ยก 5 กิโลกรัม ยกน้ำหนักได้ 6 ครั้งเท่านั้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นที่จะยกน้ำหนักได้สูงสุด (1RM) คือ 5 x 1.20 = 6 กิโลกรัม    
     เมื่อหาค่าน้ำหนักสูงสุดของกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่จะฝึกและจดบันทึกไว้ ให้เลือกผลลัพธ์ของการฝึกกล้ามเนื้อชนิดที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงการฝึกตามระดับความหนักของน้ำหนักสูงสุด (%RM) จำนวนครั้งที่ยก (repetition) และจำนวนชุดของการยก (set) ระยะพักระหว่างชุด (rest time) ดังในตารางเปรียบเทียบวิธีการฝึกกล้ามเนื้อที่แสดงไว้ เมื่อได้ทำการฝึกไปประมาณ 4-6 สัปดาห์ ควรจะทำการหาค่าน้ำหนักสูงสุด (1RM) ใหม่ เพราะกล้ามเนื้อที่ฝึกจะแข็งแรงขึ้น เนื่องจากมีการปรับตัวตามผลของการฝึกแล้ว ควรมีการปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นใหม่ให้มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
      สำหรับคนที่กำลังจะเริ่มการฝึกความแข็งแรงของกล้ามโดยไม่เคยทำมาก่อน ควรเริ่มจากการฝึกระดับเบา เพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อก่อน แล้วจึงค่อยปรับเปลี่ยนน้ำหนักและจำนวนครั้งให้ได้ผลลัพธ์ต่าง ๆ ตามที่ต้องการในแต่ละสัปดาห์ ไม่ควรเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อจนต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน เป็นการรบกวนความก้าวหน้าของการฝึกในที่สุด
ครั้งที่ยกได้
Repetition Factor
1
1.00
2
1.07
3
1.10
4
1.13
5
1.16
6
1.20
7
1.23
8
1.27
9
1.32
10
1.36
11
1.40
12
1.43



ตารางเปรียบเทียบเทคนิควิธีการฝึกกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ
ระดับความหนัก
ผลลัพธ์
% 1RM
ครั้งที่ยก
เซท
ระยะพัก
หนัก
Power
80
1-3
3-6
2-4 นาที
หนัก
Strength
80-90
3-8
3-6
2-4 นาที
ปานกลาง
Hypertrophy
70-80
8-12
3-6
30-90 วินาที
เบา
Muscular endurance
60-70
12-15+
2-3
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที

อาหารและโภชนาการเพื่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
     ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า การเสริมสร้างกล้ามเนื้อนอกจากต้องใช้วิธีที่ถูกต้องตามหลักการแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องอาหารการกินอีกด้วย ผู้ที่กำลังฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรได้รับพลังงานจากอาหารที่หลากหลายและมากกว่าปกติ เนื่องจาก ร่างกายต้องใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อกระบวนการสร้างเสริมและกระบวนการทางชีวเคมีในเซลล์กล้ามเนื้อ

     สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งพบได้ในอาหารจำพวกแป้ง ข้าว น้ำตาล จะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญอันดับต้นในการฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ยิ่งเราฝึกหนักและนานเท่าไหร่ ร่างกายยิ่งต้องการคาร์โบไฮเดรตสะสมในรูปสารไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อมากเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำว่า ร่างกายควรได้รับสารอาหารคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อยวันละ 500-600 กรัม เพื่อรักษาระดับไกลโคเจนให้อยู่ในระดับสูงอย่างเหมาะสม
     สำหรับสารอาหารโปรตีนก็มีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ โปรตีนที่ร่างกายควรได้รับ ควรเป็นโปรตีนคุณภาพสูงซึ่งส่วนใหญ่ได้จากสัตว์ เช่น ไข่และน้ำนม การได้รับโปรตีนในปริมาณที่สูงมากพอจะทำให้กล้ามเนื้อที่ได้รับการฝึกมีประสิทธิภาพสูงสุดในการเสริมสร้างและเพิ่มขนาดได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานตามปริมาณที่แนะนำ ไม่ควรบริโภคเกินกำหนด เพราะร่างกายจะต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียและส่วนเกินของโปรตีน จนอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้
     สารอาหารที่จำเป็นอีกประเภท คือ ไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ร่างกายต้องการปริมาณไม่มาก ไขมันที่ร่างกายควรได้รับ คือ ไขมันไม่อิ่มตัว
     สารอาหารอื่น ๆ ที่ไม่ให้พลังงานแต่มีความสำคัญต่อการทำงานหรือการขับเคลื่อนกลไลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ สารอาหารจำพวกวิตามินและเกลือแร่พบได้ตามอาหารประเภทต่าง ๆ รวมถึงผักและผลไม้ การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ นอกจากทำให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่แล้ว ยังช่วยป้องการอาการท้องผูกได้อีกด้วย สำหรับน้ำนั้น ควรดื่มเป็นปกติวันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว แต่เมื่อฝึกเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำก่อนฝึกสัก 2 แก้ว และสามารถจิบน้ำได้เป็นระยะ ๆ ขณะฝึกทุก ๆ 15-20 นาที ทั้งนี้ ยังควรดื่มน้ำเพื่อช่วยชดเชยน้ำที่เสียไปหลังการฝึกออกกำลังกายเสมอ

เครดิต:

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ:อาหาร

อาหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

ปลา
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี และโดยเฉพาะในปลาทะเลยังมีกรดไขมันจำพวกโอเมกา-3 และโอเมกา-6 สูงอีกด้วย กรดไขมันโอเมกา-3 นั้นมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบในเนื้อเยื่อต่างๆ และช่วยชะลอการทำลายมวลกล้ามเนื้อ



เนื้อไม่ติดมัน
เนื้อแดงไม่ติดมัน เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เป็นต้น เนื้อไก่หรือเนื้อสัตว์ปีก (ไม่มีหนัง) เนื้อปลา หรือโปรตีนจากธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง โปรตีนเกษตรสำเร็จรูป (แต่ถ้ารับประทานโปรตีนจากพืชเพียงอย่างเดียว ควรกินอาหารเสริมวิตามินบี 12 ด้วย)


ไข่
ไข่เป็นอาหารที่มีโปรตีนที่มีประโยชน์สูง และราคาไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับแหล่งอาหารโปรตีนอื่นๆ แต่ถ้าในกรณีที่มีปัญหาคอลสเตอรอลสูง อาจลดปริมาณการรับประทานไข่แดง ส่วนไข่ขาวสามารถรับประทานได้


ควินัว (Quinoa)
เป็นพืชที่ปลูกกันในแถบอเมริกาใต้ มีคุณค่าทางโภชนาการดีเยี่ยม มีโปรตีน ธาตุเหล็กและโพแทสเซียมสูง ในบ้านเราอาจจะหากินได้ยาก อาหารที่ใกล้เคียงกับควินัวในบ้านเรา คือ การกินข้าวกล้องน่วมกับกินผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง


คอทเทจชีส (Cottage cheese)
ชีสชนิดนี้มีไขมันต่ำและโปรตีนสูง จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมกล้ามเนื้อ หรืออาจรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ นมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลืองแทน









วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แอนตาโกนิซึม:Antagonism


แอนตาโกนิซึม (Antagonism) หมายถึง การทำงานของกล้ามเนื้อคู่หนึ่งที่ทำงานตรงข้ามกัน คือ ถ้ากล้ามเนื้อหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกตัวหนึ่งก็จะคลายตัว การทำงานแบบ Antagonism สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ในคน การยืดเหยียดแขนโดยอาศัยการหดคลายแบบตรงข้ามกันของกล้ามเนื้อ Biceps และ Triceps ในแมลงด้านการกระพือปีกก็เป็น Antagonism เช่นกันระหว่างกล้ามเนื้อยึดอกส่วนนอกและกล้ามเนื้อตามยาว
กล้ามเนื้อส่วนที่ทำงานไปในทางเดียวกับการเคลื่อนที่จะเรียกว่า Agonist ส่วนที่ทำงานตรงข้ามจะเรียกว่า Antagonist

ชนิดของกล้ามเนื้อ


กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยทำงานร่วมกับระบบโครงกระดูก เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1.  กล้ามเนื้อลาย ( skeletal  muscle )  เป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ยึดเกาะกับกระดูก (bone) โดยเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโครงกระดูกเพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกายและเพื่อรักษาท่าทาง (posture) ของร่างกาย การควบคุมการคงท่าทางของร่างกายอาศัยรีเฟล็กซ์ (reflex) ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber )  อยู่รวมกันเป็นมัด เซลล์แต่ละเซลล์ในเส้นใยกล้ามเนื้อจะมีหลายนิวเคลียส  และในเส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะประกอบด้วยมัดของเส้นใยฝอย หรือเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก ( myofibrils ) ที่มีลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงตัวตามแนวยาว ภายในเส้นใยฝอยจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ เรียกว่า ไมโอฟิลาเมนท์ ( myofilament ) ไมโอฟิลาเมนต์ประกอบด้วย      
โปรตีน 2 ชนิด คือ ไมโอซิน ( myosin ) และแอกทิน ( actin ) ไมโอซินมีลักษณะเป็นเส้นใยหนาส่วนแอกทินเป็นเส้นใยที่บางกว่า การเรียงตัวของไมโอซินและแอกทินอยู่ในแนวขนานกัน ทำให้เห็นกล้ามเนื้อเป็นลายขาวดำสลับกัน
ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย สีเข้ม สีอ่อนสลับกันเห็นเป็นลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ( voluntary muscle ) ต้องมีคำสั่งจากประสาทกลางมาควบคุม เรียกการทำงานของกล้ามเนื้อลายที่ต้องอาศัยประสาทว่า Neurogenic contraction เช่น กล้ามเนื้อที่ แขน ขา หน้า ลำตัว เป็นต้น
กล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน คือ ถ้ากล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัวทำให้กระดูกสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การงอแขนหรือเหยียดแขนได้ เนื่องมาจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อด้านนอกที่เรียกว่า กล้ามเนื้อไบเซฟ ( bicep muscle ) และกล้ามเนื้อท้องแขนด้านในที่เรียกว่า กล้ามเนื้อไตรเซฟ ( tricep muscle) ทำงานตรงกันข้าม การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้เรียกว่า Antagonistic muscle

2.  กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth  muscle )  เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลายตามขวาง  ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเรียบ ที่มีลักษณะแบนยาวแหลมหัวแหลมท้าย (รูปกระสวย) ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง  ใยแอกทินและไมโอซินของกล้ามเนื้อเรียบจะอยู่รวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบและมองเห็น เป็นรูปร่างไม่ชัดเจน จึงทำให้เห็นเป็นลายไม่ชัดเจน จึงเรียกว่า กล้ามเนื้อนี้ว่ากล้ามเนื้อเรียบ ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ( involuntary  muscle ) เรียกการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบที่ทำงานด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีคำสั่งจากประสาทกลางมาควบคุมว่า Myogenic contraction แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System) มีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ
กล้ามเนื้อเรียบมีโปรตีนที่ละลายน้ำได้ (Water-soluble) น้อยกว่ากล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบมีไอออน ที่สำคัญๆ คือ K+ และ Ca++น้อยกว่าในกล้ามเนื้อลายแต่มี Na++สูงกว่า



              3.  กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac  muscle )  เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะ  ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งมีรูปร่างเฉพาะที่เป็นกิ่งสาขาโดยจะประกอบด้วยเส้นใยลำต้นซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อโครงร่าง และส่วนของเส้นใยที่ เป็นสาขาก็มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นใยลำต้น กล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยเส้นใยฝอยแอกทิน และไมโอซินเรียงกันเป็นกลุ่ม หนาแน่นซึ่งมองเห็นได้ชัดกว่าในกล้ามเนื้อเรียบ รูปร่างเซลล์จะมีลายตามขวางและมีนิวเคลียสหลายอัน มีเส้นใยฝอย แอกทินและไมโอซินที่เรียงตัวสลับอยู่ด้วยกันเหมือนกล้ามเนื้อลาย  แต่แยกเป็นแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง  การทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่าง จากกล้ามเนื้ออื่น กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานหรือเต้นเป็นจังหวะตลอดเวลาไม่หยุดตั้งแต่ เริ่มมีชีวิตจนกระทั่งสัตว์ตาย โดยเซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ


เครดิต:
http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson6.php#muscle